ข้อมูลทั่วไปเทศบาลเมืองนครพนม
-
ประวัติ
เทศบาลเมืองนครพนม ได้ก่อตั้งขึ้นตามพระราชกฤษฎีกาเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2478 (ประกาศใน ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 52 หน้า 2096 ลงวันที่ 25 มีนาคม 2478) เดิมก่อตั้งอยู่ถนนสุนทรวิจิตร ริมฝั่งแม่น้ำโขง ซึ่งปัจจุบันได้ก่อสร้างเป็นสถานธนานุบาลเมืองนครพนม (โรงรับจำนำ) ต่อมาเมื่อปี พ.ศ.2502 ได้ย้ายสำนักงานเทศบาลมา ปลูกสร้างแห่งใหม่ที่เลขที่ 374 ถนนอภิบาลบัญชา จนถึงปัจจุบัน อาคารบ้านเรือนของประชาชนส่วนมากจะปลูกสร้าง เรียงรายตามความยาวของแม่น้ำโขง มีเนื้อที่ประมาณ 3.23 ตารางกิโลเมตร และต่อมาเมื่อปี พ.ศ.2523 ได้มีพระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงเขตเทศบาลเมือง นครพนม (ประกาศใน ราชกิจจานุเบกษา ฉบับพิเศษ เล่มที่ 97 หน้า 30 ตอนที่ 39 ลงวันที่ 11 มีนาคม 2523) พื้นที่ของเทศบาลเมืองนครพนมได้คลอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองแสงทั้งหมด ตำบลอาจสามารถ และตำบลหนองญาติเป็นบางส่วน รวมเนื้อที่ปัจจุบัน 24.125 ตารางกิโลเมตร
อาณาเขตของเทศบาลเมืองนครพนม
ทิศเหนือ ติดต่อกับบ้านอาจสามารถ ตำบลอาจสามารถ
ทิศใต้ ติดต่อกับบ้านหนองจันทร์ ตำบลท่าค้อ
ทิศตะวันออก ติดกับแม่น้ำโขง ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
ทิศตะวันตก ติดต่อกับบ้านภูเขาทอง ตำบลหนองญาติ
ความหมายดวงตราของเทศบาลเมืองนครพนม เป็นรูปพระธาตุพนมและ รูปนางฟ้าเพราะจังหวัดนครพนมมีพระธาตุพนมที่สำคัญและเก่าแก่องค์หนึ่งเรียกว่า พระธาตุพนม เป็นพระธาตุที่ สร้างขึ้นบนเนินสูง ทางตำนานกล่าวว่าพระธาตุพนมเป็นที่บรรจุพระอุรังคธาตุของพระพุทธเจ้า สร้างขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ.8 นับว่าเป็นปูชนียสถานที่เก่าแก่และมีคุณค่าทาง ศิลปกรรมมากองค์หนึ่งนอกจากนั้นยังมีตำนานเล่าว่า รูปแกะสลักทั้งภายในและภายนอก เป็นฝีมือของพระวิสสุกรรมทั้งสิ้น ด้วยเหตุนี้เทศบาลจึงได้กำหนดดวงตราเป็น รูปพระธาตุพนมและรูปนางฟ้า
-
อำนาจหน้าที่
อำนาจหน้าที่ของเทศบาลเมืองนครพนม
อํานาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 และที่แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2562 และพระราชบัญญัติกําหนดและขั้นตอนการกระจายอํานาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542อํานาจหน้าที่ตามมาตรา 53 ได้กําหนดอํานาจหน้าที่ที่เทศบาลเมืองต้องทํา ได้แก่
(1) กิจกรรมที่ระบุไว้ในมาตราที่ 50
(2) ให้มีน้ำสะอาดหรือการประปา
(3) ให้มีโรงฆ่าสัตว์
(4) ให้มีและบำรุงสถานีที่ทำการพิทักษ์และรักษาคนเจ็บไข้
(5) ให้มีและบำรุงทางระบายน้ำ
(6) ให้มีและบำรุงส้วมสาธารณะ
(7) ให้มีและบำรุงการไฟฟ้า หรือแสงสว่างโดยวิธีอื่น
(8) ให้มีการดำเนินกิจการโรงรับจำนำหรือสถานสินเชื่อท้องถิ่น
(9) จัดระเบียบการจารจร หรือ ร่วมมือกับหน่วยงานอื่นในการปฎิบัติหน้าที่ดังกล่าวบทบาทหน้าที่
(1) สำนักปลัดเทศบาล มีหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับราชการทั่วไปของเทศบาล และราชการที่มิได้กำหนดให้เป็นหน้าที่ของสำนัก กอง หรือส่วนราชการใดในเทศบาลโดยเฉพาะ รวมทั้งกำกับ และเร่งรัดการปฏิบัติราชการของส่วนราชการในเทศบาลให้เป็นไปตามนโยบาย แนวทาง และแผนการปฏิบัติราชการของเทศบาล และงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือตามที่ได้รับมอบหมาย โดยมีหัวหน้าสำนักปลัดเทศบาลเป็นผู้ปกครองบังคับบัญชาพนักงานและลูกจ้าง และรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของสำนักปลัดเทศบาล
(2) สำนักคลัง มีหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับงานการจ่าย การรับ การนำส่งเงิน การเก็บรักษาเงิน และเอกสารทางการเงิน การตรวจสอบใบสำคัญ ฎีกา งานเกี่ยวกับเงินเดือน ค่าจ้าง ค่าตอบแทน เงินบำเหน็จ บำนาญ เงินอื่น ๆ งานเกี่ยวกับการจัดทำงบประมาณฐานะทางการเงิน การจัดสรรเงินต่าง ๆ การจัดทำบัญชีทุกประเภท ทะเบียนคุมเงินรายได้และรายจ่ายต่าง ๆ การควบคุมการเบิกจ่าย งานทำงบทดลองประจำเดือน ประจำปี งานเกี่ยวกับการพัสดุของเทศบาล และงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือตามที่ได้รับมอบหมาย โดยมีผู้อำนวยการสำนักคลัง เป็นผู้ปกครองบังคับบัญชาพนักงานและลูกจ้าง และรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของกองคลัง
(3) สำนักการศึกษา มีหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับการบริหารการศึกษา และพัฒนาการศึกษา ทั้งการศึกษาในระบบการศึกษา การศึกษานอกระบบการศึกษา และการศึกษาตามอัธยาศัย เช่นการจัดการศึกษาปฐมวัย อนุบาลศึกษา ประถมศึกษา มัธยมศึกษา และอาชีวศึกษา โดยมีงานธุรการ งานการเจ้าหน้าที่ งานบริหารวิชาการ งานโรงเรียน งานศึกษานิเทศก์ งานกิจการนักเรียน งานการศึกษาปฐมวัย งานขยายโอกาสทางการศึกษา งานฝึกและส่งเสริมอาชีพ งานห้องสมุดพิพิธภัณฑ์และเครือข่ายทางการศึกษา งานกิจการศาสนา ส่งเสริมประเพณี ศิลปวัฒนธรรม งานกีฬาและนันทนาการ งานกิจกรรมเด็กเยาวชนและ การศึกษานอกโรงเรียน และงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือตามที่ได้รับมอบหมาย โดยมีผู้อำนวยการสำนักการศึกษา เป็นผู้ปกครองบังคับบัญชาพนักงานและลูกจ้าง และรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของกองการศึกษา
(4) กองช่าง มีหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับการสำรวจ ออกแบบ การจัดทำข้อมูลทางด้านวิศวกรรม การจัดเก็บและทดสอบคุณภาพวัสดุ งานออกแบบและเขียนแบบ การตรวจสอบ การก่อสร้างงานควบคุมอาคาร ตามระเบียบกฎหมาย งานแผนการปฏิบัติงานการก่อสร้างและซ่อมบำรุง การควบคุมการ ก่อสร้าง และซ่อมบำรุง งานแผนงานด้านวิศวกรรมเครื่องจักรกล การรวบรวมประวัติติดตามควบคุมการปฏิบัติงานเครื่องจักรกล การควบคุม การบำรุงรักษาเครื่องจักรกล และยานพาหนะ งานเกี่ยวกับแผนงานควบคุม เก็บรักษาการเบิกจ่ายวัสดุ อุปกรณ์ อะไหล่ น้ำมันเชื้อเพลิง และงานอื่น ที่เกี่ยวข้องหรือตามที่ได้รับมอบหมาย โดยมีผู้อำนวยการกองช่างเป็นผู้ปกครองบังคับบัญชาพนักงาน และลูกจ้าง และรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของกองช่าง
(5) กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม มีหน้าที่เกี่ยวกับสาธารณสุขชุมชน ส่งเสริมสุขภาพและอนามัย การป้องกันโรคติดต่อ งานสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม และงานอื่น ๆ เกี่ยวกับการให้บริการด้านสาธารณสุข งานสัตวแพทย์ งานด้านการรักษาพยาบาลในเบื้องต้นเกี่ยวกับศูนย์บริการสาธารณสุข และงานทันตสาธารณสุข และงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือตามที่ได้รับมอบหมาย โดยมีผู้อำนวยการกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมเป็นผู้ปกครองบังคับบัญชาพนักงานและลูกจ้าง และรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
(6) กองช่างสุขาภิบาล มีหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับการจัดการสิ่งแวดล้อมวัสดุที่ใช้แล้ว (ขยะ) การจัดคุณภาพน้ำ การควบคุมออกแบบก่อสร้างอาคารโรงงาน ที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม การควบคุมดูแลรักษาตรวจสอบระบบบำบัดน้ำเสีย และมลพิษในด้านอื่นๆ รวมทั้งการปฏิบัติงานต่างๆตามที่ได้รับมอบหมาย
(7) กองยุทธศาสตร์และงบประมาณ กองยุทธศาสตร์และงบประมาณ มีหน้าที่เกี่ยวกับการวิเคราะห์นโยบายและแผน ซึ่งมีลักษณะเพื่อประกอบการกำหนดนโยบายจัดทำแผนหรือโครงการติดตามประเมินผลการดำเนินงานตามแผนและโครงการต่าง ๆ ซึ่งอาจเป็นนโยบายแผนงานและโครงการทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง การบริหารหรือความมั่นคงของประเทศ ทั้งนี้ อาจเป็นนโยบายแผนงานของเทศบาลและโครงการระดับชาติ ระดับกระทรวง ระดับกรม หรือระดับจังหวัดแล้วแต่กรณี และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(8) กองสวัสดิการสังคม กองสวัสดิการสังคมมีหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับการปฏิบัติงานการสงเคราะห์ การดูแลคุณภาพชีวิตประชาชน เด็ก สตรี ผู้สูงอายุ ผู้พิการ ทุพลภาพ และผู้ด้อยโอกาส การส่งเสริมสวัสดิการเด็กและเยาวชน การพัฒนาชุมชน การจัดระเบียบชุมชน การจัดไหม้มีและสนับสนุนกิจกรรมศูนย์เยาวชน การส่งเสริมงานประเพณีท้องถิ่น และงานสาธารณะ การให้คำปรึกษาแนะนำหรือตรวจสอบเกี่ยวกับงานสวัสดิการสังคม การส่งเสริมอาชีพ สร้างรายได้ การเสนอแนะเกี่ยวกับการส่งเสริมการวิจัย การวางโครงการการสำรวจจัดเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติ เพื่อนำไปใช้ประกอบการพิจารณา กำหนดนโยบาย แผนงานและแนวทางการปฏิบัติในการจัดสวัสดิการ และปฏิบัติงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมายโดยแบ่งส่วนราชการภายใน
(9) กองการเจ้าหน้าที่ มีหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับ การบริหารงานบุคคลของพนักงานเทศบาล ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ลูกจ้างประจำ และพนักงานจ้างของเทศบาล งานวิเคราะห์การวางแผนอัตรากำลัง งานจัดตั้งส่วนราชการและการปรับปรุงโครงสร้างส่วนราชการ งานการกำหนดตำแหน่งและการปรับปรุงการกำหนดตำแหน่ง งานการสรรหาเกี่ยวกับการสอบแข่งขัน สอบคัดเลือก การคัดเลือก การย้าย การโอน การรับโอน การคัดเลือกเพื่อรับโอน งานบรรจุและแต่งตั้ง งานจัดทำ ควบคุม ตรวจสอบ แก้ไขบันทึกข้อมูลทะเบียนประวัติ งานระบบสารสนเทศข้อมูลบุคลากรท้องถิ่นแห่งชาติ งานการประเมินผลการปฏิบัติราชการ งานเกี่ยวกับเงินเดือน ค่าจ้าง และค่าตอบแทน งานการคัดเลือกเพื่อเลื่อนและแต่งตั้งพนักงานเทศบาลให้ดำรงตำแหน่งในระดับที่สูงขึ้น งานการประเมินเพื่อเลื่อนวิทยฐานะข้าราชการครู งานการลาทุกประเภท งานสิทธิสวัสดิการทุกประเภท งานส่งเสริมสนับสนุนการเพิ่มสมรรถภาพในการปฏิบัติงาน งานแผนพัฒนาบุคลากร งานฝึกอบรม งานสนับสนุนเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรมและจรรยาบรรณ งานการให้พ้นจากราชการ งานบริการข้อมูล สถิติ ช่วยเหลือ
-
ทำเนียบนายกเทศมนตรี
ลำดับที่ ชื่อ-สกุล วัน เดือน ปี 1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47นายวาส สมิตยนต์
ขุนอนุสรกรณี
นายวาส สมิตยนต์
ขุนพิพัฒนสกลราษฎร
ร.อ.ชั้น ยงใจยุทธ
นายหอม สูตรสุคนธ์
หลวงอภิบาลวรเดช
นายทับทิม สุกใส
นายฉลอง รมิตานนท์
นายหวน บุรชาติ
ขุนบวรวรรณกิจ
นายจินต์ รักการดี
ขุนอนุสรกรณี
ขุนอนุสรกรณี
นายสุมังค์ ปทุมชาติ
ร.ต.อ.แถวพรหมประกาย ณ นครพนม
ร.ต.ต.เอิบ สโรบล
นายสวัสดิ์ ยะสารวรรณ
นายปฐม สุทธิวาทนฤพุฒิ
นายสุกัน ประสิทธิสา
นายสุธี โอบอ้อม
นายวรรณดี ตั้งตรงจิตร
นายศักดา อ้อพงษ์
นายสุกัน ประสิทธิสา
นายเจริญ วดีศิริศักดิ์
นายสืบ รอดประเสริฐ
นายสมภาพ ศรีวรขาน
นายบวร บุปผเวส
นายสมภาพ ศรีวรขาน
นายประสาธน์ รัตนโยธิน
นายสมภาพ ศรีวรขาน
นายองอาจ ทิพย์โฆษิตคุณ
ร.ต.อ.วิโรจน์ ภู่จินดา
นายองอาจ ทิพย์โฆษิตคุณ
นายองอาจ ทิพย์โฆษิตคุณ
นายบวร บุปผเวส
นายถนอม แสงสุริยจันทร์
นายสุนทร ตั้งตรงจิตร
นายพงษ์สวัสดิ์ ศรีวรขาน
นายองอาจ ทิพย์โฆษิตคุณ
นายวิทย์ อิมานนท์วราไชย
นายพิศิษฐ์ ปิติพัฒน์
นายพิศิษฐ์ ปิติพัฒน์
นายพิศิษฐ์ ปิติพัฒน์
นายนิวัต เจียวิริยบุญญา
นายนิวัต เจียวิริยบุญญา
นายนิวัต เจียวิริยบุญญา25 มี.ค. 2478 – 25 มี.ค. 2480
25 มี.ค. 2480 – 24 มี.ค. 2483
25 มี.ค. 2483 – 24 มี.ค. 2485
25 มี.ค. 2485 – 24 มี.ค. 2487
25 มี.ค. 2487 – 24 มี.ค. 2489
25 มี.ค. 2489 – 24 มี.ค. 2492
25 มี.ค. 2492 – 24 พ.ค. 2493
25 พ.ค. 2493 – 24 มี.ค. 2494
25 มี.ค. 2494 – 14 พ.ค. 2494
15 พ.ค. 2494 – 10 มิ.ย. 2496
11 มิ.ย. 2496 – 10 เม.ย. 2497
11 เม.ย. 2497 – 27 ก.ค. 2497
28 ก.ค. 2497 –26 ก.ค. 2501
27 ก.ค. 2501 – 29 พ.ค. 2502
30 พ.ค. 2502 – 09 ธ.ค. 2502
10 ธ.ค. 2502 – 01 ก.ค. 2505
02 ก.ค. 2505 – 09 มิ.ย. 2508
10 มิ.ย. 2508 – 04 พ.ย. 2508
05 พ.ย. 2508 – 06 ก.พ. 2511
07 ก.พ. 2511 – 21 เม.ย 2512
22 เม.ย. 2512 – 19 ก.ค. 2512
20 ก.ค. 2512 – 24 ก.ย. 2514
25 ก.ย. 2514 – 22 ธ.ค. 2514
23 ธ.ค. 2514 – 25 ธ.ค. 2515
26 ธ.ค. 2515 – 30 ก.ย. 2517
01 ต.ค. 2517 – 18 ต.ค. 2517
19 ต.ค. 2517 – 02 ม.ค. 2518
03 ม.ค. 2518 – 31 พ.ค. 2519
01 มิ.ย. 2519 – 30 มิ.ย. 2519
01 ก.ค. 2519 – 12 มี.ค. 2520
13 ม.ค. 2520 – 31 ม.ค. 2520
01 เม.ย. 2520 – 19 ม.ค. 2523
20 ม.ค. 2523 – 07 มิ.ย. 2523
08 มิ.ย. 2523 – 27 ก.ค. 2528
09 ส.ค. 2528 – 10 ส.ค. 2531
11 ส.ค. 2531 – 09 ต.ค. 2532
10 ต.ค. 2533 – 19 พ.ย. 2534
27 พ.ย. 2534 – 19 พ.ย. 2537
01 ธ.ค. 2537 – 15 พ.ย. 2538
16 พ.ย. 2538 – 21 ม.ค. 2541
22 ม.ค. 2541 – 29 ม.ค. 2541
30 ม.ค. 2541 – 27 ธ.ค. 2542
08 ธ.ค. 2542 – 21 ธ.ค. 2546
01 ก.พ. 2547 – 31 ม.ค. 2551
09 มี.ค. 2551 – 8 มี.ค. 2555
22 เม.ย.2555- 31 ม.ค. 2564
1 พ.ค. 2564 – ปัจจุบัน
-
จำนวนประชากรและครัวเรือน
ประชากรในเขตเทศบาลเมืองนครพนม มีทั้งสิ้น 26,393 คน แยกเป็น ชาย 12,475 คน หญิง 13,918 คน และมีจำนวนครัวเรือน ทั้งสิ้น 13,685 ครัวเรือน (ข้อมูล ณ เดือน มีนาคม พ.ศ. 2559 )
-
สภาพเศรษฐกิจ
โครงสร้างทางเศรษฐกิจ โดยส่วนรวมขึ้นอยู่กับภาคเกษตรกรรม การประมง การค้าขาย และอุตสาหกรรมขนาดเล็ก ประชาชนประกอบอาชีพเกษตรกรรม การประมง ประมาณร้อยละ 18.52 การค้าขายประมาณร้อยละ 51.03 และอื่นๆ เช่น รับราชการ รับจ้างทั่วไป ฯลฯ ประมาณร้อยละ 30.45
การเกษตรกรรม การประกอบอาชีพเกษตรกรรมจะมีตามชุมชนรอบนอก โดยมีพื้นที่ทำการเกษตรประมาณ 6,314.40 ไร่ หรือ 10.103 ตารางกิโลเมตร คิดเป็นร้อยละ 42 ของพื้นที่เขต เทศบาลเมืองนครพนมผลผลิตที่สำคัญ ได้แก่ ข้าว พืชผัก และพืชไร่บางชนิด
การอุตสาหกรรม ภายในเขตเทศบาลเมืองนครพนมและตำบลใกล้เคียง มีโรงงานได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการ จำนวน 107 แห่ง เงินลงทุนรวม 734,398,566 บาท แรงงานในภาคอุตสาหกรรม แยกเป็น ชาย 800 คน หญิง 592 คน รวมทั้งสิ้น 1,392 คน
การพาณิชยกรรมและการบริการ
1. ธนาคาร จำนวน 17 แห่ง
2. โรงภาพยนตร์ จำนวน 1 แห่ง
3. สถานีบริการน้ำมันหรือแก๊ส จำนวน 9 แห่ง
4. ตลาดหรือสถานที่จัดจำหน่ายสินค้ามีจำนวน 4 แห่งดังนี้
4.1 ตลาดสดเทศบาล จำนวน 1 แห่ง
4.2 ตลาดอินโดจีน จำนวน 2 แห่ง
4.3 ตลาดโต้รุ่ง จำนวน 1 แห่ง
5. ห้างสรรพสินค้า จำนวน 3 แห่ง
6. โรงฆ่าสัตว์เทศบาลฯ จำนวน 1 แห่ง
7. สถานธนานุบาลเทศบาลฯ จำนวน 1 แห่ง
8. สถานีขนส่งผู้โดยสารเทศบาลฯ จำนวน 1 แห่ง
-
การศึกษา วัฒนธรรม ประเพณี
การศึกษา เทศบาลเมืองนครพนม ได้จัดการศึกษาตั้งแต่ระดับก่อนประถมศึกษา (เด็กเล็ก/อนุบาล) ระดับประถมศึกษา (ป.1 – ป.6) จนถึงระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.6) โดยมีโรงเรียนในสังกัด เทศบาลเมืองนครพนมจำนวน 6 แห่ง และศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียน จำนวน 1 แห่ง รวมทั้งหมด 7 แห่ง คือ
1. โรงเรียนเทศบาล 1 (หนองแสง) เปิดสอนระดับอนุบาล – ป.6
2. โรงเรียนเทศบาล 2 (บำรุงเมือง) เปิดสอนระดับอนุบาล – ป.6
3. โรงเรียนชุมชนเทศบาล 3 (พินิจพิทยานุสรณ์) เปิดสอนระดับอนุบาล – ม.6
4. โรงเรียนเทศบาล 4 (รัตนโกสินทร์ 200 ปี) เปิดสอนระดับอนุบาล – ป.6
5. โรงเรียนเทศบาล 5 (สมพรอภัยโส) เปิดสอนระดับอนุบาล – ป.6
6. โรงเรียนเทศบาล 6 (ยงใจยุทธ) เปิดสอนระดับอนุบาล
7. ศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียน
ประเพณี จังหวัดนครพนมมีขนบธรรมเนียมประเพณีที่สืบทอดกันมายาวนานตั้งแต่สมัยอดีตกาล ประเพณีส่วนใหญ่จะคล้ายคลึงกับจังหวัดอื่นๆ ในภาคอีสานการทำบุญตามฤดูต่างๆ เช่น งานทำบุญเข้า พรรษา งานทำบุญออกพรรษา งานทำบุญสงกรานต์ โดยมีความมุ่งหมายเพื่อเป็นสิริมงคลและความสมบูรณ์พูนสุขของท้องถิ่นประเพณีที่สำคัญ คือ ประเพณีไหลเรือไฟ (เฮือไฟ) จัดขึ้นในวันออกพรรษา ของทุกปี คือ วันขึ้น 15 ค่ำเดือน 11 การไหลเรือไฟในสมัยโบราณจัดขึ้นเพื่อเป็นการบูชาสมเด็จพระสัมมาพระพุทธเจ้าในวันที่เสด็จมาจากเทวโลก หลังจากที่ได้เสด็จขึ้นไปจำพรรษาที่ชั้นดาวดึงส์ เมื่อออก พรรษาแล้วก็เสด็จลงมาสู่เมืองมนุษย์โดยบันไดทิพย์ เรียกว่า “ วันพระเจ้าโปรดโลก ” มีการรับเสด็จด้วยเครื่องสักการะบูชาอย่างมโหฬาร การไหลเรือไฟ ก็คือ การสักการะบูชาอย่างหนึ่งในวันนั้นและได้จัดเป็น ประเพณีสืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบัน ประเพณีนมัสการพระธาตุพนม เป็นงานประเพณีที่ยิ่งใหญ่และสำคัญยิ่งของชาวจังหวัดนครพนมและชาวอีสาน
วัฒนธรรม จังหวัดนครพนมเป็นจังหวัดหนึ่งของภาคอีสานที่สืบทอดวัฒนธรรมลุ่มแม่น้ำโขงมาแต่สมัยอดีตกาลนับตั้งแต่วัฒนธรรมกลุ่มไทย-ลาวได้มีอิทธิพลในบริเวณลุ่มแม่น้ำโขง คือ ราวพุทธศตวรรษที่ 20 เป็นต้นมา ชาวนครพนมจึงยึดมั่นในจารีตท้องถิ่นที่ชาวอีสานประพฤติปฏิบัติกันมาโดยเฉพาะการทำบุญตามฮีตสิบสอง คลองสิบสี่ ซึ่งเป็นเบ้าหลอมให้ชาวอีสานรักความสงบและมีความเอื้ออาทรต่อกัน ชาว จังหวัดนครพนมประกอบด้วยหลายเชื้อชาติโดยแยกเป็นเผ่าต่างๆ ได้ 7 เผ่า ได้แก่ ไทยลาว (ชาวอีสาน) ไทยข่า ไทยญ้อ ไทยแสก ผู้ไท โซ่ กระเลิง มีศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดตั้งอยู่ในเขตเทศบาล เมืองนครพนม จำนวน 1 ศูนย์ อยู่ที่โรงเรียน ปิยะมหาราชาลัย และมีสภาวัฒนธรรมจังหวัด จำนวน 1 แห่ง ตั้งอยู่ที่สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดนครพนม
-
การสาธารณสุข
การเจ็บป่วยของประชาชนภายในเขตเทศบาล มีสาเหตุของการเจ็บป่วยส่วนใหญ่ที่พบมากที่สุดได้แก่ โรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ โรคระบบย่อยอาหาร โรคเกี่ยวกับลำไส้ และโรคติดต่ออื่นๆ
ข้อมูลเกี่ยวกับสถานบริการด้านสาธารณสุขภายในเขตเทศบาลเมืองนครพนม
1. โรงพยาบาล จำนวน 1 แห่ง
2. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด จำนวน 1 แห่ง
3. สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ จำนวน 1 แห่ง
4. หน่วยบริการปฐมภูมิ (PCU) จำนวน 2 แห่ง
5. ร้านขายยาแผนปัจจุบัน จำนวน 24 แห่ง
6. ร้านขายยาแผนโบราณ จำนวน 2 แห่ง
7. คลินิกเอกชน จำนวน 35 แห่ง
8. ร้านขายยาแผนปัจจุบันบรรจุเสร็จ จำนวน 9 แห่ง
9. ร้านขายยาแผนปัจจุบันสำหรับสัตว์ จำนวน 4 แห่ง
-
ทรัพยากรน้ำ และสิ่งแวดล้อม
ทรัพยากรน้ำ มีแหล่งน้ำตามธรรมชาติที่มีความสำคัญต่อการอุปโภค บริโภค และการประกอบอาชีพของชาวนครพนม ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้ประโยชน์จากแหล่งน้ำในด้านการทำการเกษตรและการทำประมง โดยมีแม่น้ำไหลผ่าน 1 สาย คือ แม่น้ำโขง มีหนอง บึง จำนวน 6 แห่ง ได้แก่ หนองแสง หนองหัวช้างหนองกระตืก หนองหมากเห็บ หนองบึก หนองเบ็น และมีลำห้วย จำนวน 1 แห่ง คือ ลำห้วยฮ่องฮอ
สภาพสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองนครพนม มีพื้นที่รับผิดชอบ 24.125 ตารางกิโลเมตร มีการขยายตัวทางเศรษฐกิจและจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จากการขยายตัวดังกล่าวได้ก่อให้เกิดปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมมากกว่าเดิม เช่น ปัญหามลพิษ ปัญหาการปล่อยน้ำเสียลงสู่แม่น้ำลำคลอง ปัญหาขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล ฯลฯ ซึ่งเทศบาลเมืองนครพนมมีการวางแผนป้องกันและดำเนินการแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น เช่น การรณรงค์ การอบรมประชาชน การก่อสร้างสถานีกำจัดขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล บนพื้นที่จำนวน 77 ไร่ ตั้งอยู่ที่บ้านสุขเกษม ตำบลโพธิ์ตาก อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม
ข้อมูลการกำจัดขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล
1. ปริมาณขยะมูลฝอย จำนวน 40 ตัน/วัน
2. รถบรรทุกขยะมูลฝอย จำนวน 7 คัน
– ประเภทอัดท้าย ขนาดความจุ 12 ลบ.ม. จำนวน 5 คัน
– ประเภทเปิดท้ายเทท้าย ขนาดความจุ 10 , 4 ลบ.ม. จำนวน 2 คัน
3. สถานที่กำจัดขยะมูลฝอย จำนวน 77 ไร่
-
แหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ภายในเขตเทศบาลเมืองนครพนม
1.วัดนักบุญอันนาหนองแสง ตั้งอยู่ถนนสุนทรวิจิตรบริเวณฝั่งตรงข้ามเขื่อนริมแม่น้ำโขง คุณพ่อเอทัวร์ นำลาภ อธิการโบสถ์วัดนักบุญอันนาหนองแสง สร้างขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1962 วัดนี้เป็นสัญลักษณ์ของเมือง ที่มีคนหลายเชื้อชาติอาศัยอยู่ และเป็นสถาปัตยกรรมที่สวยแปลกตาน่าชมยิ่ง ในช่วงก่อนวันคริสต์มาสชาวคริสต์แต่ละชุมชนจะประดิษฐ์ดาวรูปแบบต่างๆ แล้วแห่มารวมกันไว้ที่นี้
2.วัดโอกาส (ศรีบัวบาน) เดิมชื่อวัดศรีบัวบาน ตั้งอยู่เลขที่ 552 ถนนสุนทรวิจิตร ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย มีพื้นที่ 3 ไร่ 2 งาน 28 ตารางวา วัดโอกาส (ศรีบัวบาน) เป็นวัดที่เก่าแก่ สุดวัดหนึ่ง สร้างเมื่อ พ.ศ. 1994 ในสมัยที่อาณาจักรศรีโคตรบูรยังเจริญรุ่งเรืองอยู่และได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ พ.ศ. 2281 ด้วยเนื้อที่กว้าง 12 เมตร ยาว 17 เมตร ในตำนาน กล่าวถึงการ สร้างวัดว่าเมื่อจุลศักราชราชาได้ 813 ตัว ตรงกับ พ.ศ. 1994 จมื่นรักษาราษฏรซึ่งเป็นนายกองเมืองผู้ปฏิบัติราชการต่างพระเนตรพระกรรณแทนพระเจ้าศรีโคตรบูรหลวงและชาวบ้าน โพธิ์ค้ำมีศรัทธาได้สร้าง สำนักสงฆ์วัดศรีบัวบานขึ้นริมฝั่งน้ำของ (แม่น้ำโขง) ในบริเวณบ้านโพธิ์ค้ำ นครศรีโคตรบูร ต่อมาเมื่อจุลศักราชราชาได้ 1,100 ตัว ตรงกับพ.ศ. 2281 ราชบุตรพรหมา (พรหมา บุตรเจ้ากู่แก้ว) ได้เป็นเจ้า ผู้ครองเมืองนครบุรีศรีโคตรบูรมีพระราชทินนามว่า“ พระบรมราชาพรหมา ” มีพระราชศรัทธาบูรณปฏิสังขรณ์สำนักสงฆ์วัดศรีบัวบานขึ้นพร้อมกับสร้างพระอุโบสถสร้างพระประธานด้วย อิฐพทายเพ็ชรลงรักปิดทอง และตั้งชื่อพระประธานนั้นว่า “ หลวงพ่อพระราชาพรหมา ” ออกจากนั้นยังได้อัญเชิญพระติ้วพระเทียมซึ่งเป็นพระคู่บ้านคู่เมืองของเมืองศรีโคตรบูรจากบ้านสำราญมาประดิษฐานที่วัด ศรีบัวบาน และรับสั่งให้ชาวบ้าน สำราญเป็น “ข้าโอกาส” คอยปรนนิบัติรักษาพระติ้วพระเทียมพร้อมกับเปลี่ยนนามวัดใหม่จากวัดศรีบัวบานเป็น “ วัดโอกาส ” ดังปรากฏอยู่ในปัจจุบัน
3.วัดโพธิ์ศรี ตั้งอยู่เลขที่ 690 ถนนสุนทรวิจิตร ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดนครพนมเลียบเขื่อนหน้าเมืองนครพนม สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ภายในกุฎิเจ้าอาวาสเป็นที่ประดิษฐานพระทอง ซึ่งเป็น พระพุทธรูปทองสำริดปางมารวิชัยและเป็นพระพุทธรูปโบราณสกุลช่างล้านช้างตรงกับสมัยอยุธยาตอนต้นในอดีตเคยทำพิธีสรงน้ำพระทองในวันสงกรานต์แต่มักจะเกิดพายุและฝนตกหนักทุกครั้ง ภายหลังจึงเปลี่ยน เป็นพระพุทธรูปองค์อื่นแทน ปัจจุบันทุกวันเพ็ญเดือนหกจะนิมนต์มาตั้งไว้ที่หน้าโบสถ์ให้ชาวบ้านมาสรงน้ำและในวันออกพรรษาชาวบ้านห้อมจะมาทอดปราสาทผึ้งที่วัดนี้ทุกปี
4.วัดกลาง ตั้งอยู่เลขที่ 736 ถนนสุนทรวิจิตร ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดนครพนมเลียบเขื่อนหน้าเมืองนครพนม สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ได้รับอนุญาตให้ตั้งวัดเมื่อปี พ.ศ. 2200 ได้รับ พระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2255 เดิมวัดกลางตั้งอยู่บ้านหนองจันทร์ ตำบลท่าค้อ อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม พระยามหาอำมาตย์ (ป้อม อมาตยกุล) หลังจากรบชนะทับท้าวกิ่งหงษา ท้าวจุฬณีและท้าวคำสายได้สั่งให้พระบรมราชาสุดตาย้ายเมืองจากบ้านหนองจันทร์มาตั้งใหม่ที่บ้านโพธิ์คำหรือโพธิ์ค้ำ เมื่อปี พ.ศ. 2340 เพราะเห็นว่าชัยภูมิเมืองเก่าไม่เหมาะสม และวัดกลางได้ย้ายตามมา อยู่ที่เมืองใหม่เพราะอยู่ในความอุปถัมภ์ของเจ้าเมือง เหตุที่ได้นามว่า “ วัดกลาง ” เพราะสร้างอยู่ในใจกลางเมืองมีร้านค้าร้านตลาดเรียงรายอยู่ล้อมรอบนามนั้นจึงยังคงอยู่คู่บ้านจนถึงปัจจุบัน5.วัดมหาธาตุ ตั้งอยู่ถนนสุนทรวิจิตร ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม เลียบเขื่อนหน้าเมืองนครพนม มีพระธาตุนครเป็นปูชนียสถาน มีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส กว้างประมาณ 5.85 เมตร สูงประมาณ 24 เมตร วัดมหาธาตุสร้างในปี พ.ศ. 1150 โดยพระยามหาอำมาตย์ (ป้อม) แม่ทัพใหญ่ที่มาจากเวียงจันทน์ ในวันแรกที่พระยามหาอำมาตย์ (ป้อม) สร้างเมืองนครพนมขึ้นนั้นมีเพียงวัดมหาธาต ุวัดเดียวเท่านั้น จึงขนานนามว่า “ วัดมิ่งเมือง ” (คือวัดมหาธาตุในปัจจุบัน) เป็นวัดใหญ่ประจำเมือง เป็นศูนย์กลางการปกครอง การศึกษา มีพระมหาเถระมีครูบาอาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิเป็นผู้ปกครองดูแล และอำนวยการศึกษาอยู่เป็นประจำและเป็นที่ประกอบพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยาของข้าราชการใหญ่น้อย วัดมิ่งเมืองชาวบ้านทั่วไปเรียกกันติดปากว่า “ วัดธาตุ ” ทั้งนี้เพราะผู้เฒ่าผู้แก่ได้เล่าสู่ลูกหลานเป็นทอดๆ มาว่าที่วัดมิ่งเมืองนี้มีพระอรหันต์ สารีริกธาตุบรรจุอยู่ในธาตุเจดีย์องค์หนึ่ง ภายในบริเวณวัดมิ่งเมืองมีธาตุเจดีย์ใหญ่บ้างเล็กบ้างหลายสิบองค์ เจ้าบ้านผู้ปกครองบ้านเมืองแต่ก่อนนิยมสร้างเจดีย์เป็นที่บรรจุอัฐิ ของบิดามารดาปู่ย่าตายายไว้ในวัดยิ่งถ้าเป็นผู้ใหญ่ก็นิยมสร้างไว้ในวัดใหญ่วัดมิ่งบ้านมิ่งเมือง เห็นว่าสมกับเกียรติยศเป็นที่เชิดหน้าชูตามีสง่าราศรีความนิยมเช่นนั้นก็เลยลุกลามมาถึงประชาชนทั่วไปใครสามารถ พอจะทำได้ก็ทำและตลอดมาจนถึงปัจจุบันนี้ในวัดจึงเต็มไปด้วยธาตุเจดีย์ สร้างขึ้นมาเพื่อบรรจุอัฐิซึ่งไม่เป็นระเบียบเหมือนในปัจจุบัน
6.วัดพระอินทร์แปลง ตั้งอยู่ถนนสุนทรวิจิตร ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดนครพนมเลียบเขื่อนหน้าเมืองนครพนม ตั้งเมื่อ พ.ศ. 2393 เดิมชื่อว่า “ วัดอุโมงค์ ” กระทั่งในปี พ.ศ. 1637 สมัยเจ้าครูอุด อดีตเจ้าอาวาสวัดเห็นว่าอุโมงค์ได้รื้อทิ้งแล้วจนสร้างเป็นสิม (อุโบสถ) จึงเปลี่ยนชื่อใหม่แต่ชาวบ้านนิยมเรียกวัดแห่งนี้ว่า “ อินแปง ” ตามชื่อพระประธานมาหลายยุคสมัย จนมาถึงในปี พ.ศ. 2470 กรมการศาสนามีการสำรวจวัดทั่วราชอาณาจักรเพื่อขึ้นทะเบียนไว้ในทำเนียบวัด โดยให้ใช้ชื่อว่า “ วัดพระอินทร์แปลง ” ตั้งแต่ปีนั้นมาถึงปัจจุบัน และได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2485 โดยมีพระครูอินทรกัลยาณคุณเป็นเจ้าอาวาส ในอุโบสถวัดมีพระพุทธรูปประธานศักดิ์สิทธิ์มีนามเรียกขานว่า “ หลวงพ่อพระอินทร์แปลง ” เป็นพระพุทธรูปที่มีพุทธลักษณะที่สวยงามและมีประวัติการ สร้างเป็นตำนานเล่าขาน
7.วัดศรีเทพประดิษฐาราม ตั้งอยู่บริเวณถนนศรีเทพ เยื้องโรงเรียนชุมชนเทศบาล 3 ตำบลในเมืองอำเภอเมือง จังหวัดนครพนม สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2402 ภายในโบสถ์มีจิตรกรรมฝาผนังรูปพุทธประวัติที่ สวยงาม และยังเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปสำคัญ คือ พระแสง ตำนานเล่าว่าสร้างขึ้นพร้อมกับพระสุกและหลวงพ่อพระใส (วัดโพธิ์ชัย จังหวัดหนองคาย) ข้างๆ โบสถ์มีเจดีย์บรรจุอัฐิของหลวงปู่จันทร์ (พระเทพสิทธาจารย์) พระเกจิอาจารย์ที่ชาวนครพนมเคารพนับถือ ส่วนรูปปั้นนั้นจะอยู่ในตึกเทพสิทธารามและที่น่าชมอีกอย่างหนึ่งคือ อาคารที่สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2464 ซึ่งได้รับรางวัลอนุรักษ์ศิลปสถาปัตยกรรม ในด้านปูชนียสถานและวัดวาอารามจากสมาคมสถาปนิกสยามฯ
8.วัดน้อยโพธิ์คำ (วัดพระใหญ่) ตั้งอยู่เลขที่ 86 บ้านน้อยใต้ ถนนประชาร่วมมิตร หมู่ที่ 4 ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่ 57 ไร่ 3 งาน 38.9 ตารางวา โฉนดที่ดินเลขที่ 4249 อาณาเขตทิศเหนือประมาณ 6 เส้น 16 วา จดทางสาธารณประโยชน์ ทิศใต้ประมาณ 8 เส้น 15 วาจดทางสาธารณประโยชน์ ทิศตะวันออก ประมาณ 6 เส้น 5 วา จดถนนประชาร่วมมิตร ทิศตะวันตก ประมาณ8 เส้น 5 วา จดที่มีการครอบครองที่ธรณีสงฆ์ จำนวน 5 แปลง เนื้อที่ 15 ไร่ 1 งาน 25 ตารางวา โฉนดที่ดินเลขที่ 4250 เลขที่ดิน 7 , 4251 เลขที่ดิน 8 , 4252 เลขที่ดิน 9 , 4548 เลขที่ดิน 151 และแปลงที่ 5 ตั้งอยู่ที่ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม มีเนื้อที่ 1 ไร่ มีหนังสือแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดิน คือ อยู่ข้างที่ดินหมายเลข 7 อาคารเสนาสนะประกอบด้วย อุโบสถ กว้าง 22 เมตร ยาว 33 เมตร สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2514 เป็นอาคารคอนกรีต กุฏิสงฆ์ จำนวน 12 หลัง เป็นอาคารไม้ 10 หลัง และครึ่งตึกครึ่งไม้ 2 หลัง ศาลาการเปรียญบำเพ็ญกุศล จำนวน 1 หลัง 2 ชั้น สร้างคอนกรีตก่ออิฐถือปูน ปูชนียวัตถุ มีพระพุทธรูปใหญ่นามว่า“ สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ” ขนาดหน้ากว้าง 18 เมตร สูงรวมฐาน 40 เมตร เริ่มสร้างเมื่อปี พ.ศ. 2514แล้วเสร็จเป็นองค์พระปี พ.ศ. 2528 ตั้งเป็นวัดเมื่อวันที่ 19 เดือน สิงหาคม พ.ศ. 2517 เริ่มสร้างวัดเมื่อปี พ.ศ. 2509 มีนายสนิทวงศ์ อุเทศนันท์ นายอำเภอเมืองนครพนมเป็น ผู้บริจาคที่ดินให้สร้างวัด โดยมีพระครูนครพนมคณารักษ์ เจ้าคณะอำเภอเมืองนครพนม (พระเทพมงคลเมธี ที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดนครพนม) และพระมหาบัวศรี ขนฺติสาโร (พระครูสิริปริยัติคุณ) เป็นผู้นำ ชาวบ้านในการสร้างวัดนี้ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2534 เขตวิสุงคามสีมา กว้าง 40 เมตร ยาว 80 เมตร
-
สถานที่พักผ่อนหย่อนใจ
1. สวนหลวง ร.9 สร้างขึ้นเพื่อถวายเป็นราชสักการะ เนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงเฉลิมพระชนมพรรษาครบ 5 รอบ และเป็นสวนสาธารณะสถานที่สำหรับพักผ่อนหย่อนใจของ ประชาชนทั่วไป ตั้งอยู่ในเขตเทศบาลเมืองนครพนมทางทิศเหนือ
2. สวนเทิดพระเกียรติ เดิมเป็นป่าช้าเก่า (ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2) ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2501 นายสง่า จันทรสาขา ผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม ได้เป็นผู้นำชาวนครพนมล้างป่าช้า โดยนิมนต์ พระเทพสิทธาจารย
์ (เจ้าคุณปู่) วัดศรีเทพประดิษฐาราม เป็นผู้ประกอบพิธีกรรม เพื่อปรับปรุงเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ ให้ชื่อว่า “ สวนลุมนครพนม ” เมื่อปี พ.ศ. 2515 ได้เปลี่ยนชื่อเรียกว่า
“ สวนสาธารณะท้ายเมือง ” และต่อมาเมื่อวันที่ 12 สิงหาคม 2535 เนื่องในวโรกาสที่ สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ มีพระชนมายุ 60 พรรษา เพื่อเป็นสิริมงคลแก่ชาวนครพนม เทศบาลเมืองนครพนมจึงเปลี่ยนชื่อเป็น “ สวนเทิดพระเกียรติสมเด็จมหาราชินี ” มีเนื้อที่ 11 ไร่ 21 ตารางวา ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของตัวเมืองอยู่ติดกับริมฝั่งแม่น้ำโขง ด้านล่างของสวนมีหาดทรายทอง ศรีโคตรบูรณ์ปรากฏขึ้นมาในช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนพฤษภาคมของทุกปี3. หาดทรายทองศรีโคตรบูรณ์ นับเป็นหาดทรายน้ำจืดที่สวยงามแห่งหนึ่ง มีลักษณะเป็นหาดทรายในฤดูแล้ง (ประมาณเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนเมษายน) บริเวณหาดทรายจะยื่นยาวออกไปกลางลำแม่น้ำโขง ทำให้ห่างจากสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวไม่มากนัก หาดทรายนี้จะอยู่ตรงข้ามที่ทำการแขวงคำม่วนพอดี เหมาะสำหรับเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจและชมความงามของธรรมชาติ
4.ลานกันเกราและลานพนมนาคา ตั้งอยู่บริเวณตลอดแนวหน้าตลาดอินโดจีน (ไปทางทิศใต้ของเมือง)เป็นสถานที่สำหรับพักผ่อนหย่อนใจของประชาชนทั่วไปในเขตเทศบาลเมืองนครพนมและเป็นสถานที่
สำหรับชมทิวทัศน์ อันสวยงามของแม่น้ำโขงโดยเฉพาะพระอาทิตย์ที่กำลังโผล่พ้นทิวเขาเหนือลำแม่น้ำโขง5.ลานจันทร์ส่องหล้า ตั้งอยู่บริเวณหน้าวัดโอกาส (ศรีบัวบาน) เป็นสถานที่สำหรับพักผ่อนหย่อนใจของประชาชนทั่วไปในเขตเทศบาลเมืองนครพนมและเป็นสถานที่สำหรับชมทิวทัศน์อันสวยงาม ของแม่น้ำโขงโดยเฉพาะ พระอาทิตย์ที่กำลังโผล่พ้นทิวเขาเหนือลำแม่น้ำโขงก่อให้เกิดทัศนียภาพ ที่หาดูได้ยากยิ่ง
6.สวนชมโขง เดิมเป็นเรือนจำทัณฑสถาน ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2544 เทศบาลเมืองนครพนมจึงมีโครงการที่จะทำการปรับปรุงเรือนจำทัณฑสถานเดิม ที่ได้ย้ายออกไปอยู่นอกเมือง คือ บ้านหนองเซาตำบลท่าค้อ อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม ซึ่งหากปล่อยเรือนจำทัณฑสถานเดิมเป็นที่รกร้างแล้วจะไม่เหมาะสมอย่างยิ่ง เทศบาลเมืองนครพนมจึงได้มีการปรับปรุงอนุรักษ์สิ่งปลูกสร้างที่มีอยู่เดิม คือ ป้อม 4 จุด เรือนจำชาย เตาเผาขยะ บ่อน้ำ และส่วนอื่นๆ โดยปรับปรุงให้เป็นสวนสาธารณะสำหรับเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจและในอนาคตเทศบาลเมืองนครพนม จะได้จัดสร้าง “ หอสูงชมเมือง ” ซึ่งมองเห็นทิวทัศน์รอบจังหวัดนครพนม และประเทศเพื่อนบ้านได้อย่างสวยงาม
7.ลานตะวันเบิกฟ้า ตั้งอยู่บริเวณเขื่อนริมแม่น้ำโขงหน้าบ้านพักผู้พิพากษาจังหวัดนครพนมเป็นลานอเนกประสงค์สำหรับให้ประชาชนมาสูดรับอากาศบริสุทธิ์ในตอนเช้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งชาวต่างประเทศชอบมา สูดอากาศบริเวณริมแม่น้ำโขง และลานอเนกประสงค์ยังมีประชาชนมาออกกำลังกายทั้งเช้าและเย็น
8.อัฒจันทร์ริมแม่น้ำโขง จัดทำไว้สำหรับให้ประชาชนนั่งชมการไหลเรือไฟประจำปีของจังหวัดนครพนมและชมการแข่งขันเรือยาวตามประเพณีที่เทศบาลเมืองนครพนมจัดขึ้น ซึ่งอัฒจันทร์นี้ตั้งอยู่ติด กับริมแม่น้ำโขง มีดังนี้ 1. บริเวณตั้งแต่หน้าบ้านพักผู้พิพากษาจังหวัดนครพนม (ลานตะวันเบิกฟ้า) ยาวตลอดแนวไปทางทิศเหนือถึงบริเวณหน้าบ้านพักคลังจังหวัดนครพนม และหน้าจวนผู้ว่าราชการ จังหวัดนครพนม (หลังเก่า) 2. บริเวณหน้าวัดพระอินทร์แปลง วัดมหาธาตุ วัดกลาง และวัดโพธิ์ศรี 3. บริเวณหน้าตลาดอินโดจีน (ลานกันเกรา)
แท่นอัฒจันทร์นี้เป็นจุดดึงดูดนักท่องเที่ยวและประชาชนทั่วไปให้มานั่งชมพระอาทิตย์ขึ้นยามเช้าชมการไหลเรือไฟประจำปีของจังหวัดนครพนมในช่วงงานเทศกาลออกกพรรษาและชมการแข่งขันเรือยาวตามประเพณี
ที่เทศบาลเมืองนครพนมจัดขึ้น และยังเป็นสถานที่ไว้สำหรับพักผ่อนหย่อนใจและออกกำลังกาย9.หมู่บ้านมิตรภาพไทย – เวียดนาม (บ้านท่านประธานาธิบดีโฮจิมินห์) บ้านนาจอก เป็นหมู่บ้านอยู่ในเขตตำบลหนองญาติ อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม ในอดีตช่วงสงครามอินโดจีน ประธานาธิบดี โฮจิมินห์พร้อมกลุ่มผู้ร่วมอุดมการณ์ได้เดินทางเข้ามาเพื่อหาลู่ทางกอบกู้เอกราชอยู่ในพื้นที่จังหวัดนครพนม ในช่วงปี พ.ศ. 2466 – 2474 โดยพำนักอยู่ ณ บ้านนาจอก ซึ่งท่านได้สร้างบ้านพักและเครื่องใช้ ไม้สอยต่างๆ ปัจจุบันยังเหลือบางส่วนเป็นหลักฐาน เป็นบ้านชั้นเดียว บริเวณหน้าบ้านมีต้นมะพร้าวรอบบ้านได้ปลูกต้นหมากและต้นไม้ไผ่เป็นอาณาเขต ในปัจจุบันพื้นที่ดังกล่าวยังคงรักษาสภาพเดิมแต่บ้านพัก ได้ทรุดโทรมและถูกรื้อถอนแล้ว การมาพักอยู่ที่บ้านนาจอกเป็นเวลา 7 ปีของท่าน มีการใช้สถานที่แห่งนี้เป็นศูนย์ประสานงานวางแผนและเคลื่อนไหวในการต่อสู้เพื่อปลดปล่อยกอบกู้เอกราชจากประเทศฝรั่งเศส ซึ่งถือได้ว่าสถานที่แห่งนี้มีความสำคัญยิ่งเป็นส่วนหนึ่งที่ส่งผลให้การกู้ชาติประสบผลสำเร็จ
10. จวนผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม (หลังเก่า) ตั้งอยู่ถนนสุนทรวิจิตร (บริเวณริมถนนเลียบแม่น้ำโขง)ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม โบราณสถานแห่งนี้เป็นแหล่งสถาปัตยกรรมประเภท
ที่อยู่อาศัย แต่เดิมใช้เป็นบ้านพักของผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม รูปแบบของอาคารแห่งนี้ได้รับอิทธิพลการก่อสร้างจากตะวันตก (ฝรั่งเศส) โดยมีลักษณะอาคารเป็นแบบคอนกรีตเสริมเหล็ก 2 ชั้น หลังคาทรงจั่ว มุงด้วยกระเบื้องพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ได้เคยเสด็จพระราชดำเนินมายังจังหวัดนครพนมและประทับที่จวนผู้ว่าราชการจังหวัดหลังนี้ เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2518 ปัจจุบันจวนผู้ว่าราชการ จังหวัดนครพนมหลังเก่าแห่งนี้ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของชาติแล้ว11. ตลาดอินโดจีน ตั้งอยู่ถนนสุนทรวิจิตร ซึ่งเป็นสถานที่จำหน่ายสินค้าจากประเทศกลุ่มอินโดจีน เช่น ไทย ลาว เวียดนาม ฯลฯ